โรงเรียนบ้านบางประแดง (เลาหดิลกราษฎร์)

ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

โรงเรียนบ้านบางประแดง (เลาหดิลกราษฎร์) 

ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2482  ในพื้นที่ของนายชัด  สุขเนตร หมู่ที่2 ต.บ้านใหม่ อ.สามพราน จ.นครปฐม มีชื่อในตอนนั้นว่า "โรงเรียนประชาบาล ตำบลบ้านใหม่2" โดยประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้นเป็นหลังคามุงจาก9 ขื่อ เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2482 ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 4 

          โดยมีขุนนครรัฐเขตร์ นายอำเภอสามพรานและนายเติม  วรรณดิลก  ศึกษาธิการอำเภอสามพรานมาเป็นประธานเปิดในพิธีเปิด  ทางราชการบรรจุครูไว้ 2 คน  คือ นายกมล   เลาหบุตร  เป็นครูใหญ่   นายเจริญ  กิจเจริญ  เป็นครูน้อย  มีนักเรียน 50 คน

          พ.ศ.2484 ย้ายโรงเรียนมาตั้งในที่ดินของ  นายกุ้ยเฮียง  เลาหบุตร หมู่ที่3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่มอบให้เป็นเนื้อที่ 1 ไร 2 งานได้สร้างเป็นอาคารเรียน ป. กว้าง 8 เมตร ยาว20เมตร ด้วยงบประมาณ 600 บาท  นายกุ้ยเฮียง  เลาหบุตร ร่วมบริจาค 1,200 บาท ประชาชนร่วมบริจาค 600 บาท รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 2,400 บาท มีขุนสมรรถชัยศรี นายอำเภอสามพรานนายเติม วรรณดิลก ศึกษาธิการอำเภอสามพราน  เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเปิดเป็นอาคารเรียน เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2484

          พ.ศ. 2506 ได้รับงบประมาณ 4,000 บาท ประชาชน่ร่วมบริจาค 80,000 บาท จัดสร้างอาคารเรียน แบบ ป.2 ขนาดกว้าง 8.50เมตร ยาว 20 เมตร พื้นสูง 3 เมตร มุขกลางกว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร มีห้องเรียน 4 ห้อง

          พ.ศ.2508  นายแตงไทย ใจค้า  ได้บริจาคเงินต่อเติม   หน้ามุขทำเป็นห้องครูใหญ๋และห้องรับแขก นางตังกวย ปฐมเอม  สร้างทุ่นท่าน้าหน้าโรงเรียน

          พ.ศ.2516  ขยายการศึกษาภาคบังคับถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย  โดยเริ่มเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นปีแรก

          พ.ศ.2517  นางมอญ  เลาหบุตร มอบที่ดินให้โรงเรียนเพิ่มอีก 3 งาน 50 ตารางวา เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างบ้านพักครู แบบกรมสามัญ 1 หลัง เป็นเงิน 35,000บาท

          พ.ศ.2518  ได้รับงบประมาณในการต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่างอีก 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 125,000 บาท

          พ.ศ.2520  คณะครูร่วมกับประชาชน ช่วยกันบริจาคเงินสร้างเสาธงชาติ เป็นเงิน 12,500 บาท

          พ.ศ.2521  ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงานแบบกรมสามัญ 321 เป็นเงิน 70,000บาทและสร้างบ้านพักครู  แบบกรมสามัญ 1 หลัง เป็นเงิน 60,000 บาท

          พ.ศ.2523 ได้รับงบประมาณสร้างส้วม  ขนาด4*10 เมตร 5 ที่ พื้นเป็นคอนกรีด 1 หลัง เป็นเงิน 14,000 บาท

          พ.ศ.2524 ได้รับงบพัฒนาจังหวัดของ สส.เชื่อม เรืองรอง ขุดเจาะบ่บาดาล พร้อมถังเหล็ก 4 ใบ เป็นเงิน 80,000 บาท

          พ.ศ.2528  คณะครูร่วมกับประชาชน บริจาคเงินสร้างรั้วโรงเรียนยาว 54 เมตรเป็นเงิน 45,000 บาท

          พ.ศ.2529  ได้รับงบประมาณสร้างถังน้ำซีเมนต์เก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33 เป็นเงิน 35,000 บาท

          พ.ศ.2530  ได้รับงบประมาณ กสช.ปี 2530 เป็นเงิน 60,826 บาท ประชาชนบริจาคเงินเพิ่มเตอม อีก 10,000 ทำถนนเข้าโรงเรียนบ้านบางประแดงขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 600 เมตร

          ได้รับงบประมาณพัฒนาจังหวัด จาก สส.เชื่อม  เรืองรอง 46,000 บาท ประชาชนร่วมบริจาคเงิน 19,000 บาท สร้างสนามกีฬาคอนกรีดเสริมเหล็กขนาดกว้าง 18 เมตร ยาว 33 เมตร หนา 8 ซม.

          พ.ศ.2532  ประชาชนร่วมบริจาคเงิน  สร้างโต๊ะรับประทานอาหารให้นักเรียน จำนวน 6 ชุด เป็นเงิน 12,000 บาท

          พ.ศ.2539  ได้รับงบประมาณจาก สปช. สร้างอาคารอนุบาล ขนาด 6*18 เมตร งบประมาณ 560,000 บาท  และรื้อย้ายบ้านพักครู จำนวน2 หลัง โดยคุณณรงค์  โชคชัยณรงค์ และประชาชนร่วมกันบริจาคใช้งบประมาณ 120,000 บาท จัดสร้างส้วม 6 ที่นั่งแทนส้วมเดิมที่รื้อถอน โดยประชาชนร่วมกันบริจาค เป็นเงิน 90,000 บาท

          พ.ศ.2539  คุณอำภา ว้านสมบูรณ์ บริจาคเรื่องถ่ายเอกสาร ยี่ห้อชาร์ป 1 เครื่อง

          พ.ศ.2541  รื้อมุขอาคาร แบบ ป.2 และรื้อถอนชั้นล่างพร้อมกับซ่อมแซมเสารื้อ และย้ายเสาธง โดยคุณวิสัย เลาหบุตร บริจาคเงินค่าก่อสร้าง จำนวน 20.000บาท ก่อสร้างซุ้มพระพุทธรูปแทนของเดิมโดยคุณสุเทพ เกิดท่าไม้ บริจาคเงิน 15,000 บาท รับมอบอาคารแบบ สปช. 105/29 จำนวน 10 ห้องเรียน 2 ชั้น จากคุณรงค์ โชคชัยณรงค์ เจ้าของบริษัทรีเจนซี่บรั่นดีไทย  โดยนายสุชาญ พงษ์เหนือ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นผู้รับมอบ

          ได้รับงบประมาณก่อสร้างเขื่อนกันดิน    ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนพังทลายทางด้านทิศเหนือของโรงเรียน ยาว  85 เมตร โดยกรมเจ้าท่าเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างให้

เขตบริการของโรงเรียน

          โรงเรียนให้บริการนักเรียนใน    เขตบริการหมู่ที่ 3  4  5  ตำบลบ้านใหม่ และนักเรียนนอกเขตบริการที่มาเรียนเนื่องจากมีความสะดวกในการเดินทางใน หมุ่ที่  1  2  ตำบลบ้านใหม่  หมู่ที่  5  6  ตำบลท่าข้าม

สภาพของชุมชน

          ลักษณะของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่  มีลักษณะกึ่งเมืองกึ่งชนบท  มีประชาชนประมาณ  1000  คน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน   พื้นที่ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนผลไม้ ประเภทต่างๆ และพืชผักสวนครัว  ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร  นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่รองลงมาคือศาสนาคริสต์ ประชากรในชุมชุนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี  ผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา  มีฐานะปานกลางถึงยากจนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 30000/ปี ชุมชนมีความสัมพันธ์กับโรงเรียนค่อนข้างดีแต่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาค่อนข้างน้อย